หน่วยที่3การสื่อสารเพื่อกการเรียนการสอน


การสื่อสารกับการเรียนการสอน
            พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ...การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน
ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.                                               กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2.                                               การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.                                               ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4.                                               การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
แผนผังแสดงการออกแบบการสอน


จุดมุ่งหมายการสอน








วิเคราะห์เนื้อหาบทเรียน








ออกแบบกลยุทธ์




การเรียนการสอน โดยคำนึงถึงกิจกรรม




วิธีสอน จำนวนผู้เรียน




เวลาเรียน สภาพแวดล้อม




ฯลฯ







ทรัพยากรท้องถิ่น
การออกแบบสื่อการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้







การผลิตสื่อโสตทัศน์








ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้
ส่งซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอด
เรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ แนวความคิด
เหตุการณ์ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางใน
การถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน
หรือสถาบันเพื่อให้ผู้รับทราบข่าวสารร่วมกัน
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดข่าวสารที่
หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง(Miller)
การสื่อสาร คือการมีความเข้าใจร่วมกันต่อ
เครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร(Wilbur
Schramm)การสื่อสารกับการเรียนการสอน
ในระบบการเรียนการสอน หาก
พิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมี
ลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลาย
ประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและ
กระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร
โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียน
การสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณ
ของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน
ถ้าเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบ
การสื่อสารกับองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการ
สอนแล้วจะมีลักษณะดังแผนภาพ
แผนภาพแสดงการเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบการสื่อสารกับ
องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการสอน
Instructor
ผู้สอน
Medium (สื่อ) Message (สาร) Learner
ผู้เรียน
Method
วิธีการสอน
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 15
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครูวิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบว่า
การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดีจะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนแน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป ดังนั้น
ในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและกระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วยคือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินผลได้ทันทีมีการ เลือกและจัดลำดับประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยต้องคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะสมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์ครูควรสามารถเลือกและใช้สื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอนให้ได้ผลดี สำหรับสื่อกลางในการ
เรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3ลักษณะ คือ
1. วัสดุ (Material or Software) ได้แก่
วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จาก
ตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศเป็นต้น
1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภท
เครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียงแผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุรายการ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device orHardware)
 ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่าน
มีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Techniqueor Method)
ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่นการสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและ
หุ่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและนิทรรศการ ตลอดจนเทคนิคในการเสนอ
บทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือเป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น