การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน
(Instructional design and development) เป็นต้น
ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน
คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ
ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness)
และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ
(system) มาใช้
ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง
แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง
ๆ ได้
ความหมายของระบบ
มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า “ระบบ”
(system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)
บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า “ระบบ
หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน
ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”
ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่
โดยวองให้ความหมายของระบบวา “ระบบ หมายถึง
การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”
จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
1.
องค์ประกอบ
2.
องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3.
ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1.
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
2.
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
3.
มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
4.
มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ระบบทุก
ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้
เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม” การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด
(open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs)
จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ
ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต
(outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional
System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ
ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา
และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ
เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย
เป้าหมาย (goal), และรายการภารกิจที่จะสอน
ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
การออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์
เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน
ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง
และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป
การพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง
หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้
การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ
และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว
การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative
evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative
evaluation)
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเทคนิค
Backward
Design
การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบเดิม
ครูผู้สอนวิเคราะห์มาตรฐานการจัดการเรียนรู้ของวิชา
ตามหลักสูตร จัดทำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค จัดทำสาระการเรียนรู้รายปี/รายภาค จัดทำ
หน่วยการเรียนรู้ วางแผนการจัดการเรียนรู้(วางแผนการสอน)
แล้วจึงนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้
ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ด้วยวิธีการดังกล่าว ครูผู้สอนบางคนอาจจะไม่มีการตรวจสอบว่า
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้
สามารถทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ
บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่
อีกทั้งไม่ได้ตรวจสอบว่า วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ของผู้เรียนที่กำหนดนั้น วัดสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่
และสอดคล้องมากน้อยเพียงใด
ด้วยเหตุนี้ อาจจะทำให้คุณภาพของผู้เรียนไม่ค่อยเป็นไปตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2544
ก็เป็นได้
จากหลักการ แนวคิดของ Wiggins และ
McTighe ดังกล่าว พอจะนำมาประยุกต์ใช้สำหรับ
ครูผู้สอนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่สอดคล้องกับบริบทของ การใช้
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มีขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward
Design ดังนี้
1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้/จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อผู้เรียน และสังคมและเหมาะสม
สอดคล้องกับระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. กำหนดความเข้าใจที่คงทน(Enduring
understanding) ของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นความรู้
ความเข้าใจติดตัวผู้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้เป็นเวลานาน การเขียนความเข้าใจที่คงทน
มีแนวการเขียน 2 ลักษณะ ได้แก่
2.1 เขียนแบบความเรียง โดยอาจจะเขียนลักษณะดังต่อไปนี้
2.1.1 เขียนลักษณะ “สรุปเป็นความคิดรวบยอด” เช่น ความพอเพียง ช่วยให้สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข
2.1.2 เขียนลักษณะ “กระบวนการ” เช่น การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่าง
กว้างขวางหลายมิติ กำหนดทางเลือกในการแก้สาเหตุของปัญหาอย่างหลากหลาย
เลือกทางเลือกในการ
แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.3 เขียนลักษณะ “ความสัมพันธ์” เช่น วิธีการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีผลกระทบต่อ
ระบบนิเวศในสายน้ำ
2.1.4 เขียนลักษณะ “สรุปเป็นหลักเกณฑ์ หลักการ” เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ มี
ความจำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
2.2 เขียนแบบคำถาม โดยเขียนลักษณะ
“คำถามรวบยอด” เช่น แม่น้ำ ลำคลอง มีอิทธิพลต่อ
การดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
3. กำหนดความคิดรวบยอดย่อย(Concepts)ที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมี
คุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด
ซึ่งแต่ละ Concept ที่กำหนดต้องสรรหาอย่างเหมาะสม จัดให้
มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกัน และส่งเสริมกันอย่างกลมกลืน
อันส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตาม
หน่วยฯ ที่กำหนด
4. กำหนดความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา(Subject-specific
standard) ที่เป็นความรู้(K) ทักษะ(P)
เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept(จะมากน้อยเท่าไรจึงจะเพียงพอที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถสำหรับแต่ละ Concept แล้วแต่ผู้สอนจะพิจารณา)
ซึ่งเมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนา
ทุก Concept แล้ว จะทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด
5. ตราจสอบความสอดคล้องของความรู้(K) และทักษะ(P)เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept กับ
มาตรฐานการเรียนรู้(12 ปี)ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 และนำเฉพาะ Key word
ในมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา
มาเขียนสำหรับแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้
6. กำหนดทักษะคร่อมวิชา(Trans-disciplinary
skills standards)ที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้
ให้กับผู้เรียน เช่น กระบวนการกลุ่ม
การวิเคราะห์ การเขียนรายงาน ฯลฯ ที่เป็นทักษะที่สามารถใช้ได้
หลายวิชา หรือเป็นการยืมทักษะของวิชาอื่นมาใช้
เช่น การเขียน(ของวิชาภาษาไทย)
การวิเคราะห์
การรายงาน ฯลฯ
7. กำหนดจิตพิสัย(Disposition
standards) ของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับ
ผู้เรียน
8. กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด
และ
อาจจะตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษา
หรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคุณลักษณะ
พึงประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
9. กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจตามความเข้าใจที่คงทน จิตพิสัย(A) และ
ทักษะคร่อมวิชาความรู้(K) และทักษะ(P)
เฉพาะวิชาที่กำหนด โดยการออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ให้เหมาะสมในแต่ละรายการที่กำหนด
10. จัดลำดับหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน
(การประเมิน)ให้เป็นลำดับที่เหมาะสม เพื่อนำไป
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมการประเมินที่สามารถจัดรวมกันได้
ควรจัดไว้ด้วยกัน ในแต่ละ
ลำดับ
11. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
หรือจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ โดยนำการประเมินที่จัดลำดับไว้
มากำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมง
ของแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม
12. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยนำการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ออกแบบไว้ในข้อ
11 มาจัดทำ
เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเขียนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามความรู้
และทักษะเฉพาะที่กำหนด
สำหรับความคิดรวบยอดย่อย(Concept)แต่ละ
Concept
13. ตรวจสอบความเหมาะสมของการออกแบบการจัดการเรียนรู้
โดยผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนสาขา
เดียวกัน) ตั้งแต่เริ่มกำหนดหน่วย
จนถึงจัดทำแผนการจัดการเรียนู้
14. นำผลการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ตัวอย่างเช่น การออกแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)
เน้นเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้น ม.3 ซึ่งดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้/จัดทำหน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นต้องมีคุณค่าต่อผู้เรียน
และสังคมและเหมาะสม สอดคล้องกับระดับการศึกษาของผู้เรียน
กำหนดดังนี้
ชื่อหน่วย “Wonderful Child”
2. ความเข้าใจที่คงทน(Enduring
understanding) เป็นการกำหนดความเข้าใจที่คงทนของหน่วยฯ
ที่ต้องการให้เป็นความรู้ ความเข้าใจติดตัวผู้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้เป็นเวลานาน หน่วยนี้
กำหนดไว้ ดังนี้ “การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในครอบครัว
การสื่อสารที่ดีต่อกัน ในครอบครัว
และการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้ครอบครัวมีความสุขอย่างยั่งยืน”
3. ความคิดรวบยอดย่อย(Concepts)ของหน่วย เป็นความคิดรวบยอดย่อยที่ต้องการที่จะให้ผู้เรียน
ได้เรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่คงทนของหน่วยฯ
ติดตัวไป Concept ที่กำหนด จะเป็น Concept
ที่เป็นแก่นความรู้ย่อย ๆ ที่สำคัญของหน่วยฯ
ซึ่งแต่ละ Concept จะมีความเชื่อมโยง สอดคล้อง และ
ส่งเสริมกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่คงทนของหน่วย
การเรียนรู้ที่กำหนด การกำหนด Concept
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น